วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การศึกษาไทย ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน:มุมมองในฐานะครูและนิสิต

         ครูและนักเรียนเตรียมนับถอยหลังสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2558   
          จากกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา  ส่งผลให้หลายประเทศทั่วโลกต้องเผชิญกับความหลากหลายทั้งด้านสังคมและระบบเศรษฐกิจซึ่งมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตเป็นอย่างมาก   ทำให้หลายประเทศต้องเร่งเตรียมพร้อมโดยการสร้างกลไกและพัฒนาคนให้มีศักยภาพสูงขึ้น ให้สามารถปรับตัวและรู้เท่าทันกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  เพื่อให้ประเทศชาติก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและเท่าเทียม
          ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียน  ได้ตระหนักถึงบทบาทและภารกิจสำคัญในการเสริมสร้างความร่วมมือกับอาเซียน  เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียนในเวทีโลก  โดยเฉพาะการใช้กลไกความร่วมมือด้านการศึกษานำพาอาเซียนสู่การเป็นประชาคมที่มีความมั่นคง  โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือ ทั้ง 3 เสาหลักส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน  เพื่อให้สามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จของการเป็นประชาคมอาเซียนได้ภายในปี 2558  หรืออีก 3 ปีข้างหน้า  ซึ่งส่งผลให้ทุกภาคส่วนต้องเร่งแสวงหาความร่วมมือเพื่อเพื่อเดินหน้าขับเคลื่อนเตรียมพร้อมเด็กไทยก้าวสู่ประชาคมอาเซียนตามเป้าหมาย  โดยเฉพาะให้กลไกการศึกษาเป็นตัวนำสำคัญในการขับเคลื่อนให้สามารถก้าวไปได้อย่างมีทิศทาง ผสานประโยชน์ร่วมกัน  องค์กรหลักในกระทรวง ศึกษาธิการจึงต้องเร่งเครื่องก้าวเดินอย่างไม่หยุดนิ่ง  


การศึกษาไทยในทุกวันนี้เป็นอย่างไร? 
          ตั้งแต่โรงเรียนเข้าสู่มาตรฐานสากล (world class standard school) ที่เดินหน้าอยู่ทุกวันนี้ก็ได้มีการจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งไม่ใช่เจ้าของภาษาโดยตรง  ส่วนใหญ่จะพบว่าเป็นคนฟิลิปปินส์  เนื่องจากและยิ่งการจะให้ได้คนที่เจ้าของภาษาหรือจบตรงสาขาวิชาเป็นเรื่องยากเพราะต้องจ่ายค่าจ้างแพง  แล้วอีกอย่างการให้ครูคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สอนหรือบรรยายเป็นภาษาอังกฤษล่ะ จะเป็นได้จริงหรือ? โรงเรียนของดิฉันเองก็เป็นหนึ่งในนั้น มีการให้ครูเข้ารับการอบรมการสอนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษประมาณ 4 รอบได้  ซึ่งมันเป็นเรื่องยากมาก ขนาดสื่อสารเป็นภาษาไทยนักเรียนก็ยังไม่ค่อยเข้าใจมากนัก ยังต้องอธิบายซ้ำหลายๆ รอบ  แต่นี่ไม่ใช่แค่พูดสื่อความ ใช้ไม้ ใช้มือ หรือท่าทางประกอบ เพื่อให้เข้าใจได้เท่านั้น แต่ต้องถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ซึ่งเป็นวิชาการ ทฤษฎี หรือหลักการ จนกระจ่างด้วย จึงไม่ง่ายที่ครูไทยจะฝึกจนทำได้ โดยเฉพาะคนที่ไม่เคยทำมาก่อน  และนอกจากนั้นยังให้มีการจัดทำแผนการสอน  ทำใบกิจกรรมเป็นภาษาอังกฤษด้วย

การเตรียมพร้อมในเรื่องภาษาสู่การเป็นประชาคมอาเซียน
         กฎบัตรอาเซียนข้อ 34 บัญญัติว่า ภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ  หมายความว่า ประชาชนพลเมืองใน 10 ประเทศอาเซียนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น นอกเหนือจากภาษาประจำชาติหรือภาษาประจำถิ่นของแต่ละชาติแต่ละชุมชนเอง ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษาที่สองของชาวอาเซียน เคียงคู่ภาษาที่หนึ่งอันเป็นภาษาประจำชาติของแต่ละคน  ดังนั้น อันดับแรกที่ต้องคำนึงถึงและต้องเตรียมพร้อม คือ เรื่องของภาษา  ทุกคนต้องเรียนรู้และใช้ภาษาอังกฤษให้ได้ทั้งสิ้น ตั้งแต่นายกรัฐมนตรี  ไปจนถึงเกษตรกรชาวไร่ชาวนา ชาวบ้านทั่วไป นักเรียน นักศึกษา เด็กและเยาวชน  ปัจจุบันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายให้คนในโรงเรียนฝึกพูดภาษาอังกฤษสัปดาห์ละหนึ่งวัน เริ่มตั้งแต่ปีใหม่หรือเดือนมกราคม 2555 ที่ผ่านมา ตั้งแต่ผู้บริหาร ครูอาจารย์ นักเรียน นักการภารโรง รวมทั้งพ่อค้าแม่ค้าในโรงเรียน ทั้งนี้เพื่อเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

การเตรียมนักเรียนสู่ประชาคมอาเซียน

เมื่อต้นปี พ..  2554  ดิฉันเคยได้พานักเรียนไปเรียนแลกเปลี่ยนกับนักเรียนที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศในอาเซียนที่การจัดการศึกษาประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง อันดับจากการวัดประเมินในระดับนานาชาติเขาอยู่ต้นๆ หลักคิดเขาคือ สอนให้น้อย เรียนให้มาก การจัดการเรียนการสอนที่ River Valley high school  ซึ่งจัดให้นักเรียนเรียนแค่ครึ่งวัน ส่วนอีกครึ่งวันที่เหลือให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การจัดการเรียนรู้ต้องเน้นให้เด็กเรียนรู้เอง  ลงมือทำเอง  ครูลดการบอกหรืออธิบายลง ทั้งนี้เพื่อพัฒนาความคิดและทักษะชีวิต  นอกจากสิงคโปร์จะจริงจังกับการจัดการศึกษาแล้ว อีกหลายประเทศในอาเซียนก็ได้พัฒนาการจัดการศึกษาของเขาเป็นอย่างมากเช่นกัน อาทิ มาเลเซียหรือเวียดนามที่กำลังกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของประเทศไทยเรา   
ประเทศสิงคโปร์

  การเตรียมตัวของครูสู่ประชาคมอาเซียน
 
ทัศนศึกษา ณ เกาะลังกาวี ประเทศมาเลียเซีย

          การปรับตัวด้านการเตรียมความพร้อมของครูและบุคคลากรทางการศึกษา คือ ต้องพัฒนาศักยภาพของตนเองทางด้านการเรียนการสอน การทำการวิจัย  การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สร้างตนให้เป็นคนรู้เท่าทันสถานการณ์  การสร้างความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่ต่างวัฒนธรรมได้และเรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้านทั้งในด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน พร้อมกับสร้างโอกาสเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษให้มากขึ้นให้สามารถสื่อสารได้เป็นอย่างดี
          นอกจากต้องสื่อสารภาษาอังกฤษได้แล้ว เพื่อให้คนไทยเข้าใจอาเซียน เข้าใจการอยู่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีวัฒนธรรมการกิน การอยู่ การดำเนินชีวิตที่คล้ายคลึงกัน จึงจำเป็นที่จะต้องทำความรู้จักประเทศเพื่อนบ้านเราด้วย  และจากประสบการณ์ในการทำงานมา 3 ปี  ดิฉันเคยได้ไปทัศนศึกษาที่ประเทศในกลุ่มอาเซียนของเรา  5  ประเทศ  ได้แก่  ลาว  เวียดนาม  กัมพูชา  มาเลเซีย  และสิงคโปร์  ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีจุดเด่นๆ มากมาย  ได้เห็นสถานที่ต่างๆน่าชื่นชม  ได้เรียนรู้วัฒนธรรมของแต่ละชนชาติ  ได้เรียนรู้ภาษาถิ่นของแต่ละประเทศ และที่สำคัญได้ประสบการณ์ดีๆมากมาย  และในอนาคตดิฉันคิดว่าจะพยายามไปให้ครบทุกประเทศในประชาคมอาเซียน

ประเทศเวียดนาม

      
นครวัด ประเทศกัมพูชา


ประเทศลาว
 การเตรียมตัวของนิสิตนักศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
          นิสิตนักศึกษาต้องมีความสนใจและตระหนักถึงผลที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการรวมตัวของประเทศต่างๆ สู่ประชาคมอาเซียนในส่วนของข้อดีและข้อเสียอย่างเข้าใจ การเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียนซึ่งสังคมยุคใหม่จะสะท้อนความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้น การเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษายุคใหม่จึงจำเป็นต้องปรับทั้งกระบวนการเรียนรู้ ปรับทัศนคติที่จะต้องตระหนักถึงความเป็นชาติ การปรับกระบวนทัศน์การเรียนรู้ยุคใหม่ควรเป็นไปอย่างมีเป้าหมาย
         การเตรียมบัณฑิตให้พร้อมในยุคประชาคมอาเซียน มหาวิทยาลัยต่างต้องหาวิธีการพัฒนาด้านการเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตในยุคประชาคมอาเซียนไว้ล่วงหน้า โดยไม่ต้องรอให้ถึง พ.ศ.2558 บัณฑิตยุคใหม่ จะต้องเน้นความสามารถที่หลากหลาย มากกว่าความรู้ในสาขาวิชา ดังนั้น บัณฑิตยุคใหม่ จึงจำเป็นต้องมีทักษะดังต่อไปนี้
Ø Learning   Skill
Ø Adaptability  Skill
Ø Life  Skill  (Pluralistic  Society)
Ø Work  Skill 
ดังนั้น พอถึงวันที่ต้องเป็นประชาคมอาเซียนจริงๆ แล้วจะเห็นว่าเราจะต้องมีการปรับตัวอย่างมาก  ทั้งในเรื่องภาษา การรับวัฒนธรรมต่างๆ  ส่งผลต่อเศรษฐกิจ  การเมือง  เทคโนโลยี  การศึกษารวมทั้งสังคมของไทยเราด้วย   
แล้วว่าที่บัณฑิต และคุณครูในยุคประชาคมอาเชียน พร้อมกันหรือยังคะ???




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น